รองอธิบดีกรมศุล เผย กรมศุลกากรอำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร และการจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ - MindFlush News

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Friday, November 25, 2022

รองอธิบดีกรมศุล เผย กรมศุลกากรอำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร และการจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ



รองอธิบดีกรมศุล เผย กรมศุลกากรอำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร และการจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ




วันนี้ (วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565) นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากร มีการดำเนินงานเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกทางการค้าและส่งเสริมระบบโลจิสติกส์ของประเทศ การส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศด้วยมาตรการทางศุลกากรและข้อมูลการค้าระหว่างประเทศ การเพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องสังคมให้ปลอดภัยด้วยระบบควบคุมทางศุลกากร และการจัดเก็บภาษีอากรอย่างเป็นธรรม โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2565 มีผลงานที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ความก้าวหน้าของระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window) และการเชื่อมโยงข้อมูลกับ ASEAN Single Window (ASW)

สถานะปัจจุบันของระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window) เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนทั้งภายในประเทศ และระหว่างประเทศ มีความก้าวหน้าดังนี้

1.1 ระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว (National Single Window)

เปิดให้บริการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบไร้เอกสารระหว่างกรมศุลกากรกับผู้ประกอบการทั่วประเทศ และเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ รวมทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลกับ ASEAN Single Window (ASW) รวม 105 ล้าน Transactions หรือเฉลี่ยประมาณเดือนละ 10.5 ล้าน Transactions มีผู้ประกอบการลงทะเบียนแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ประมาณ 15,751 ราย ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ประกอบการประมาณ 100,000 ราย ในการทำธุรกรรมเพื่อเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้องการนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน และโลจิสติกส์ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่ทำหน้าที่แทนหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับระบบ NSW จำนวน 34 หน่วยงาน และหน่วยงานอื่น ๆ โดยแบ่งเป็นตามรูปแบบการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ ดังนี้

1) หน่วยงานที่เชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ G2G ผ่านระบบ NSW จำนวน 33 หน่วยงาน (สำหรับใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร ข้อมูลกระบวนงานที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ ข้อมูลบัญชีสินค้าทางเรือ/อากาศยาน)

2) หน่วยงานเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ B2G ผ่านระบบ NSW จำนวน 22 หน่วยงาน

3) หน่วยงานเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบ B2B ผ่านระบบ NSW จำนวน 5 หน่วยงาน/กลุ่ม

4) ธนาคารพาณิชย์ ที่ให้บริการ e-Payment และ e-Guarantee จำนวน 18 แห่ง




1.2 ความก้าวหน้าการพัฒนาระบบ NSW ในการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์กับ ASW

1.2.1 การเชื่อมโยงข้อมูล ATIGA e-FORM D

ประเทศไทยโดยกรมศุลกากร และกรมการค้าต่างประเทศ ได้เชื่อมโยงข้อมูล ATIGA e-FORM D กับประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่อใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสารตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2562 ซึ่งขณะนี้ ครบทั้ง 10 ประเทศ ได้แก่ 1) อินโดนีเซีย 2) มาเลเซีย 3) สิงคโปร์ 4) ไทย 5) เวียดนาม 6) บรูไน 7) กัมพูชา 😎 เมียนมา 9) สปป.ลาว และ 10) ฟิลิปปินส์ โดยมีสถิติการรับส่งข้อมูล ATIGA e-FORM D ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2563 – 31 ตุลาคม 2565 จำนวน 1,600,818 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์




1.2.2 การเชื่อมโยงข้อมูล ASEAN Customs Declaration Document (ACDD)

ประเทศไทยได้เข้าร่วมการเชื่อมโยงข้อมูล ASEAN Customs Declaration Document (ACDD) อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2564 ปัจจุบันเชื่อมโยงข้อมูล ACDD กับประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว 7 ประเทศ ประกอบด้วยกัมพูชา สิงคโปร์ มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และบรูไน โดยมีสถิติการรับส่งข้อมูล ACDD ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2564 – 31 ตุลาคม 2565 จำนวน 945,278 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์




1.2.3 การเชื่อมโยงใบรับรองสุขอนามัยพืช (e-Phyto Certificate)

การเชื่อมโยงใบรับรองสุขอนามัยพืช (e-Phyto Certificate) ประเทศสมาชิกได้ตัดสินใจที่จะปรับปรุงโครงสร้างข้อมูลของ e-Phyto Certificate ใหม่ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานปัจจุบันที่ International Plant Protection Convention ใช้ เพื่อรองรับการเชื่อมโยงข้อมูลกับประเทศนอกอาเซียนได้ โดยปัจจุบันมีการรับรองโครงสร้างข้อมูลใหม่ของ e-Phyto Certificate เรียบร้อยแล้ว ซึ่งไทยและอินโดนีเซีย ได้เริ่มทดสอบเชื่อมโยงข้อมูลตามโครงสร้างใหม่ร่วมกัน ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2564 โดยมีกำหนดการเริ่มใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 ธันวาคม 2565




1.2.4 การเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-CO) ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น

ไทยและญี่ปุ่น ได้มีการหารือทางเทคนิคอย่างไม่เป็นทางการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-CO) ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และหารือประเด็นทางเทคนิคและกฎระเบียบเพื่อรองรับการเชื่อมโยงข้อมูล e-CO ระหว่างทั้ง 2 ประเทศ จำนวน 6 ครั้ง




1.3 สถานะการพัฒนากระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ สำหรับประกอบการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า-ส่งออก (ราย Shipment) ผ่านระบบ NSW

ปัจจุบันกรมศุลกากรสามารถดำเนินการพัฒนากระบวนการที่เกี่ยวกับการนำเข้า ส่งออกและโลจิสติกส์ สำหรับประกอบการผ่านพิธีการศุลกากรนำเข้า ส่งออก ผ่านระบบ NSW ได้ถึง 444 กระบวนงาน จาก 473 กระบวนงาน(ร้อยละ 93.87) ซึ่งคาดว่าจะสามารถพัฒนาอีก 29 กระบวนงานให้บริการผ่านระบบ NSW ได้ในระยะเวลาอันใกล้













No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad




Pages